ไตรโคเดอร์มา คืออะไร
เชื้อราไตรโคเดอร์มา คือเชื้อราชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการควบคุม ทำลายเชื้อราก่อโรคในพืชได้หลายชนิด จึงถือเป็นเชื้อราดี และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำเกษตรอินทรีย์ ไตรโคเดอร์มาพบได้ในพื้นที่ธรรมชาติ ที่ปลอดการใช้สารเคมี เชื้อไตรโคเดอร์มา มีหลายสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพและมีรายงานการใช้ทั่วโลกนั้น มีไม่กี่สายพันธุ์
ไตรโคเดอร์มา มีคุณลักษณะพิเศษโดยขบวนการ สร้างการเจริญเติบโตของพวกมัน สามารถทำลายเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคพืชได้หลายชนิด โดยในขั่นตอนขยายพันธุ์ สร้างการเจริญเติบโต มีกลไกสำคัญที่ทำให้ เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถควบคุมเชื้อราสาเหตุก่อให้เกิดโรคพืช ได้ ดังต่อไปนี้
สายพันธุ์เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่มีรายงานการใช้มากที่สุด
เชื้อราไตรโคเดอร์มา มีหลายสายพันธุ์ซึ่งตามรายงานที่มีอยู่ขณะนี้มากกว่า 30 สายพันธุ์ แต่ก็ไม่ใช่ทุกสายพันธุ์ที่มีความสามารถในการควบคุมเชื้อราก่อโรคพืชได้ดี บางสายพันธุ์ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชได้ดี ในขณะที่ไตรโคเดอร์มาบางสายพันธุ์มีคุณสมบัติในการควบคุมเชื้อราก่อโรคพืชได้ดี
ซึ่งเชื้อราไตรโคเดอร์มา สายพันธุ์ที่มีรายงานการใช้งานทั้งในและต่างประเทศมีอยู่ไม่กี่สายพันธุ์ เช่น Trichoderma Hazianum , Trichoderma viride, Trichoderma virens และ Trichoderma polysporum แต่ เชื้อราไตรโคเดอร์มา สายพันธุ์ ฮาเซียนั่ม เป็นสายพันธุ์ที่มีรายงานการใช้มากที่สุดทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
กลไกที่เชื้อราไตรโคเดอร์มาใช้ควบคุมเชื้อราก่อโรคในพืช
แข่งขันแย่งชิงพื้นที่และสารอาหาร (Competition)
เนื่องจากความสามารถในการเจริญเติบได้อย่างรวดเร็ว จึงเข้ายึดพื้นที่อยู่อาศัยและแย่งอาหารจากเชื้อราก่อโรค โดยแข่งขันในการดูดซับสารอาหาร สารอินทรีย์ต่างๆเพื่อใช้ในการสร้างการเจริญเติบโต และขยายพันธุ์ ซึ่งการแข่งขันในด้านการแย่งชิงอาหาร เป็นกลไกหลักที่ทำให้ เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma spp.) มีประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อราก่อโรคพืชไม่ให้มีปริมาณมาก จนก่อให้เกิดการระบาดของโรคพืชได้
ทำตัวเป็นปรสิตต่อเชื้อราก่อโรคในพืช (Parasitism)
การเป็นปรสิตหมายถึง การที่จุลินทรีย์ชนิดหนึ่งสามารถเจริญเติบโตบนจุลินทรีย์อีกชนิดหนึ่งได้ และเชื้อราไตรโคเดอร์มา ก็เช่นเดียวกัน การทำตัวเป็นปรสิตของไตรโคเดอร์มา ส่งผลให้ผนังเซลล์ของเชื้อราก่อโรคถูกทำลาย น้ำเลี้ยงและสารต่างๆในเชื้อราก่อโรคถูกเชื้อราไตรโคเดอร์มา ใช้เป็นอาหารเพื่อสร้างการเจริญเติบโต การเป็นปรสิตของเชื้อราไตรโคเดอร์มา จึงขัดขวางการเจริญของเชื้อราก่อโรคโดยตรง
ผลิตสารปฏิชีวนะ ( Antibosis)
ในการเจริญขยายพันธุ์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma spp) จะสร้างและปลดปล่อยสารพิษ หรือสารปฏิชีวนะออกมานอกเซลล์ ซึ่งสารดังกล่าวมีคุณสมบัติในการยับยั้งและทำลายเชื้อราก่อโรคพืชที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น ทำให้เชื้อราก่อโรคลดปริมาณลง ช่วยลดการเกิดโรคพืช
เชื้อราไตรโคเดอร์มา ชักนำให้พืชเกิดความต้านทาน (Induced resistance)
กลไกการต่อต้านการเกิดโรคของพืช สามารถสร้างขึ้นด้วยตัวของพืชเอง และเกิดขึ้นได้ในพืชทุกชนิด และเชื้อราไตรโคเดอร์มา สามารถกระตุ้นให้พืชสร้างกลไกเหล่านี้ได้มากขึ้น ช่วยพืชเกิดความต้านทานต่อเชื้อราสาเหตุก่อโรคพืชได้
ไตรโคเดอร์มา สามารถควบคุมเชื้อราก่อโรคต่อไปนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราปฏิปักษ์ (Antagonistic fungus) ที่มีสามารถควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชได้ หลายชนิด โดยเฉพาะเชื้อราที่อยู่ในดิน เช่น
- เชื้อราไฟทอปธอร่า Phytophthora spp. สาเหตุโรคผลร่วง ดอกร่วงของลำาใย ลิ้นจี่ โรคดอกร่วงของทุเรียน โรครากเน่า-โคนเน่าของพริก ทุเรียน ส้ม มะนาว พริกไทย แตงโม แตงกวา มะเขือเทศ และโรคไส้เน่าของกล้วย
- Pythium spp. สาเหตุโรคเน่าคอดิน กล้าเน่า โคนเน่า ยอดเน่า ของพืชผัก
- Rhizoctonia solani สาเหตุโรคเน่าคอดิน กล้าเน่า โรคใบติด
- Fusarium spp. สาเหตุโรคใบไหม้ในไม้ผล พืชไร่ พืชผัก และไม้ดอกไม้ประดับ
- Sclerotium rolfsii สาเหตุโรคโคนเน่า โรคกล้าไหม้ ราเม็ดผักกาด โรคเหี่ยวในพืชผัก สตรอเบอรี่ และพืชไร
- Alternaria spp. สาเหตุโรคใบจุดเน่าใน คะน้า ผักกาดขาว กระหล่ำาดอก สตรอเบอรี่ มันฝรั่ง พริก
- Colletotrichum spp. สาเหตุโรคแอนแทรคโนส ในมะม่วง องุ่น มะละกอ พริก หอม กระเทียม มันฝรั่ง
- Macrophomina phaseolina สาเหตุของโรคเมล็ดเน่า และโคนเน่าของพืชตระกูลถั่ว
- Mycocentrospora acerina สาเหตุโรคเน่าของแครอท
ประโยชน์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา
- ยับยั้งและทำลายเชื้อราก่อโรคพืชเพื่อไม้ให้สร้างความเสียหายแก่พืช
- ช่วยกระตุ้นให้พืชสร้างความต้านทานต่อการเข้าทำลายของเชื้อโรค
- ส่งเสริมและช่วยพัฒนาให้พืชมีการเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์
- ส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้ธาตุอาหารต่างๆของพืช โดยปรับเปลี่ยนธาตุอาหารให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้
- ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ เพิ่มปริมาณธาตุอาหารในดิน
- เพิ่มอัตราการงอกของเมล็ดพันธุ์ ป้องกันการเชื้อราเข้าลายเมล็ดพันธุ์จนทำให้เกิดโรคที่เมล็ด เช่นโรคเมล็ดด่างในข้าว
รูปแบบของเชื้อ ไตรโคเดอร์มา ที่ใช้ในปัจจุบัน
เชื้อราไตรโคเดอร์มา ในปัจจุบันมีหลายชนิด แต่ที่เราเห็นและนิยมใช้จะมีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ เชื้อไตรโคเดอร์มาในรูป ผงสปอร์แห้ง , เชื้อสด , และเชื้อชนิดน้ำ
วิธีการใช้ไตรโคเดอร์มา
- ใช้คลุกเมล็ด เพิ่มอัตราการงอกและป้องกันโรคที่อาจติดมากับเมล็ดพันธุ์
โดยใส่เชื้อลงในถุงพลาสติก อัตรา10 กรัม (หรือ1ช้อนแกง) ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม เติมน้้า 10 ซีซี แล้วบีบเชื้อสดให้แตกตัว จากนั้นจึงใส่เมล็ดลงในถุงแล้วคลุกให้เข้ากัน (ป้องกันโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์)
- รองก้นหลุม
ให้โรยเชื้อราไตรโคเดอร์มาลงในหลุม โดยคลุกเคล้าเชื้อสดกับดินในหลุมก่อนน้ากล้าพืชลงปลูกหลุมปลูกเล็กใช้เชื้อสดอัตรา 5 ช้อนแกง หลุมปลูกใหญ่ใช้เชื้อสดอัตรา 150-300 กรัม (2-3 ขีด)
- ผสมกับวัสดุปลูก
กรณีเพาะกล้าในกระบะเพาะเมล็ดหรือถุงเพาะช้า ให้น้าเชื้อสด 1 ส่วน ผสมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 40 ส่วน (โดยน้้าหนัก) แล้วนำส่วนผสมนี้มา 1 ส่วน เพื่อผสมกับวัสดุปลูก 4 ส่วน(โดยปริมาตร) จึงน้าไปเพาะเมล็ด
- การหว่านลงดิน
ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา 1 กิโลกรัม รำ 4 กิโลกรัม ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 40 กิโลกรัม ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน น้าไปหว่านโคนต้น อัตรา 30-60 กรัม(3-6 ช้อนแกง)ต่อต้น หว่านใต้ทรงพุ่ม ใช้อัตรา 150-300 กรัม (2-3 ขีด)ต่อตารางเมตร
- การฉีดพ่น
วิธีนี้สะดวก ง่ายต่อการปฏิบัติ โดยฉีดพ่นลงดินบริเวณรากพืชและส่วนบนของต้นพืชเนื่องจากต้องใช้เชื้อสดผสมกับน้้า ก่อนน้าไปใช้ต้องกรองเอาเฉพาะน้้าเชื้ออกมา เพื่อป้องกันการอุดตันหัวฉีดกรณีฉีดพ่นลงดินใช้อัตราเชื้อสด 1 กิโลกรัม ผสมน้้า 200 ลิตร พ่นส่วนบนของพืช ใช้อัตรา 2 กิโลกรัม ผสมน้้า 200 ลิตร
- วิธีอื่น ๆ
เช่น กรณีการใช้ในนาข้าว อาจใช้วิธีปล่อยไปกับระบบน้้าไหล/ การใช้ในยางพาราโดยการทาแผลหรือทาหน้ายาง / ในไม้ผลที่ตัดแต่งกิ่ง ใช้ทาแผลเพื่อป้องกันก้าจัดเชื้อรา เป็นต้น
ข้อควรระวัง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไตรโคเดอร์มา
ข้อจำกัดในการใช้ไตรโคเดอร์มา
- สภาพแวดล้อมต้องมีความชื้นเหมาะสม ไม่ชื้นแฉะ
- ควรใช้ในช่วงเช้าหรือเย็น เพราะในช่วงกลางวันมีอากาศร้อน แสงแดดจัด ทำให้เชื้อตาย
- ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในช่วง 7 วันก่อนหรือหลังการหว่านเชื้อที่ผสมแล้วลงดิน
- ควรมีการปรับปรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ
วิธีขยายเชื้อ (ทำเชื้อสดใช้ด้วยตัวเอง)
การนำไตรโคเดอร์มาเชื้อสดไปใช้ นอกจากส่วนขยายพันธุ์ (สปอร์ )ที่ได้แล้วในสารละลายเชื้อสด (น้ำที่เราใช้ละลายเชื้อที่เลี้ยงบนข้าวสุก) ยังมีสารที่สามารถฆ่าเชื้อราก่อโรคได้ทันที มีสารที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช และสารอื่นๆอีกจำนวนมากที่เป็นประโยชน์ต่อพืชและดิน ซึ่งเป็นสารที่เชื้อราไตรโคเดอร์มาสร้างในระหว่างการเจริญเติบโต
เมื่อนำเชื้อสดไปใช้ พืชจะได้รับประโยชน์จากสารเหล่านี้ทันที ซึ่งแตกต่างจากใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาสำเร็จรูปต่างๆ แต่การขยายเชื้อสดใช้ ต้องมีการวางแผนการใช้ ส่วนเชื้อไตรโคเดอร์มาสำเร็จรูปสามารถใช้ได้ทันทีที่ต้องการ
เชื้อไตรโคเดอร์มาทั้ง 2 แบบก็จะมีจุดเด่นจุดด้อยที่ต่างกัน การเลือกมาใช้งานเลือกตามความสะดวกของเราได้เลย
การผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มา
วัสดุอุปกรณ์
- หม้อหุงข้าว
- ถ้วยตวง และทัพพี
- ถุงร้อนใส ขนาด 8*12 นิ้ว
- ยางวง
- เข็มหมุด
- ปลายข้าว หรือข้าวสาร (สามารถใช้ได้ทุกพันธุ์)
- หัวเชื้อราไตรโคเดอร์มา
ขั่นตอนการผลิตขยายเชื้อ
- หุงข้าวด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้า โดยใช้ข้าว 3 ถ้วยตวง เติมน้ำสะอาด 2 ถ้วยตวง
- ใช้ทัพพีทำให้ข้าวแตกออกจากกันเป็นเม็ดร่วนๆ แล้วตักข้าวในขณะที่ข้าวยังร้อนอยู่ใส่ถุงๆละ ประมาณ 250 กรัม
- รีดอากาศออกจากถุง แล้วพับปากถุงลงด้านล่าง (ทำทุกถุง)แล้วตั้งทิ้งไว้ให้ข้าวอุ่นๆ (ไม่ถึงกับเย็น)
- เทหัวเชื้อใส่ถุงข้าว โดยการเหยาะเบาๆ (หัวเชื้อ ขนาด 20 กรัม ใส่ถุงข้าวได้ประมาณ 160-200 ถุง)
- รัดยางตรงปลายถุงให้แน่น แล้วเขย่าให้เชื้อกระจายให้ทั่วถุง
- นำไปวางเรียงไว้เพื่อบ่มเชื้อ
- หลังจากครบ 2 วัน ขยำข้าวในถุงเบาๆให้การคลุกผสมอีกครั้ง บ่มเชื้อต่ออีก 5 วัน จะเห็นเชื้อสีเขียวปกคลุมบนเมล็ดข้าว สามารถนำไปใช้ได้ (เชื้อที่ได้นี้ เรียกว่าเชื้อสด)
- เชื้อไตรโคเดอร์มาสด ที่ผลิตได้ควรนำไปใช้ทันที หรือเก็บในตู้เย็นช่องธรรมดาได้ไม่เกิน 1 เดือน
- ไม่ควรนำเชื้อไตรโคเดอร์มาสด ที่ผลิตได้ทำเป็นหัวเชื้อเพื่อขยายต่อไป เพราะจะเกิดการปนเปื่อนและเชื้อจะเสื่อมคุณภาพและประสิทธิภาพ
การใช้ไตรโคเดอร์มากับพืชที่ยังไม่เป็นโรค และที่เป็นโรคแล้ว
สำหรับพืชที่ยังไม่แสดงอาการของโรค ใช้เพื่อป้องกัน
สามารถใช้ได้ตั้งแต่ ระยะเพาะเมล็ด การเตรียมต้นกล้าพืช การปลูกในสภาพธรรมชาติ จนถึงระยะพืชเจริญเติบโตให้ผลผลิต
สำหรับพืชที่แสดงอาการของโรคแล้ว ใช้เพื่อรักษาโรค
ในกรณีของพืชยืนต้น เช่นไม้ผล การใช้เชื้อไตรโคเดอร์มานั้นมีความเสี่ยง ที่อาจไม่ได้ผลตามที่ต้องการ หรือหยุดการระบาดของโรคได้ทันท่วงที จึงจำเป็นต้องใช้วิธีอื่นๆร่วมด้วยหากเกิดการระบาดอย่างรุนแรง