วิธีใช้ไตรโคเดอร์มา ชนิดน้ำ

วิธีการใช้ไตรโคเดอร์มา ชนิดน้ำ

อัตราส่วนผสมไตรโคเดอร์มา ต่อน้ำ เท่ากับ 100 ซีซี : น้ำ 20 ลิตร (ไตรโคเดอร์มา ชนิดน้ำ 1 ลิตร ผสมน้ำได้ 200 ลิตร )

วิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ชนิดน้ำ ในการควบคุมโรคพืช

  • โดย ใช้เชื้อไตรโคเดอร์มา 100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา ชนิดน้ำ ลงในกระบะเพาะกล้า กระถาง หรือถุงปลูกพืช: หลังจากหยอดเมล็ดแล้ว หรือในระหว่างที่ต้นกล้าเริ่มเจริญเติบโต ควรฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา(ชนิดน้ำ)ลงดินให้ดินเปียกชุ่มบางกรณีอาจใช้ฉีดพ่นลงในถุงเพาะกล้าหรือกระถางปลูกพืช ตั้งแต่เริ่มปลูกหรือในระหว่างที่พืชกำลังเจริญเติบโต โดยฉีดให้ดินเปียกชุ่ม คล้ายกับการรดน้ำพืช
  • การฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา(ชนิดน้ำ)ลงในหลุมปลูกพืช: หลังจากเพาะเมล็ดหรือย้ายกล้าพืชลงปลูกในหลุมปลูกแล้ว ควรฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา(ชนิดน้ำ)ให้ดินในหลุมบริเวณรอบหลุมปลูกเปียกชื้น
  • การฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา(ชนิดน้ำ)ลงบนแปลงปลูกพืชหลังจากหว่านเมล็ด และคลุมแปลงด้วยฟางแล้ว ใช้น้ำ
    เชื้อฉีดพ่นในอัตรา 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร และให้น้ำแก่พืชทันที กรณีที่ต้องการคลุมแปลง
    ปลูกด้วยพลาสติกดำ ให้ฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา(ชนิดน้ำ)ลงบนแปลงปลูก อัตรา 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร
    ก่อนคลุมแปลงด้วยพลาสติกดำ (ต้องรดน้ำให้ดินบนแปลงปลูกมีความชื้น 60-80 เปอร์เซ็นต์ก่อน
    คลุมแปลงได้ก็จะดียิ่งขึ้น) สำหรับกรณีที่พืชกำลังเจริญเติบโตอยู่ในแปลงแล้ว สามารถฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา(ชนิดน้ำ)บนแปลง ในอัตรา 10-20 ลิตร/100 ตารางเมตร ได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช
  • การฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา(ชนิดน้ำ)โคนต้นพืช: ให้ฉีดพ่นโคนต้นพืชและดินบริเวณรอบโคนต้นพืชจนเปียกชื้น
    (เพื่อป้องกันโรคโคนเน่า) หรือใช้อัตรา 20 ลิตร/100 ตารางเมตร
  • การฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา(ชนิดน้ำ)หรือปล่อยไปพร้อมระบบการให้น้ำใต้ทรงพุ่มของพืช: ให้ฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา(ชนิดน้ำ)จนดินใต้ทรงพุ่มเปียกชื้น โดยใช้อัตรา 10-20 ลิตรต่อ 100 ตารางเมตร ควรให้น้ำแก่พืชก่อนและหลัง
    ฉีดพ่นเพื่อให้น้ำพาเชื้อซึมลงดิน และช่วยให้เชื้อเจริญได้ดีในดินที่มีความชื้น การปล่อยเชื้อราไตรโคเดอร์มา(ชนิดน้ำ)ไปกับระบบการให้น้ำแก่พืช แบบพ่นฝอยสามารถทำได้ โดยใช้อัตรา 10-20 ลิตรต่อ 100 ตารางเมตร ควรให้น้ำเปล่าประมาณ 10-15 นาที เพื่อให้ดินชื้นก่อนปล่อยน้ำเชื้อ จากนั้นปล่อยน้ำเชื้อจนหมดถังแล้วต้องปล่อยน้ำเปล่าตามอีก 10-15 นาทีเพื่อไล่น้ำเชื้อที่ตกค้างในท่อให้ออกจากระบบท่อให้หมด เพื่อป้องกันเส้นใยของเชื้ออุดตันท่อ
  • การฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา(ชนิดน้ำ)ลงส่วนบนของต้นพืช
    ให้เติมสารจับใบลงในน้ำ 5 ซีซี./20 ลิตร ก่อนนำไปฉีดพ่นลงบนใบ กิ่งก้าน ดอก ผล ของพืช เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นทุก 7-10 วัน เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อโรค บางกรณีที่มีโรคระบาดรุนแรงอาจใช้ฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา(ชนิดน้ำ)เข้มข้นกว่าปกติคือ เชื้อสด 200 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นพืชทุก 3-7 วัน
  • ชุบ แช่ท่อนพันธุ์พืช หรือพืชหัว พืชเหง้า เช่นมันสำปะหลัง เผือก มัน ขิง ข่า ตะไคร้ หรือเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา(ชนิดน้ำ)อัตรา 200ซีซี/น้ำ20ลิตรโดยแช่ท่อนพันธุ์นาน 15-30นาทีและเมล็ดพันธุ์1-2ชั่วโมงก่อนปลูก
  • หลังปลูกท่อนพันธุ์แล้ว ให้ฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มาสดผสมน้ำอัตรา 100ซีซี/น้ำ20ลิตรให้
    ชุ่มบริเวณที่ปลูกท่อนพันธุ์ลงไป

ข้อแนะนำ

  • ควรฉีดพ่นในเวลาเย็นหรือบ่ายที่ความร้อนจากแสงแดดเริ่มน้อยลง กรณีที่บริเวณที่ฉีดพ่นไม่มีร่มเงาจากพืชเลย
  • ถ้าดินบริเวณที่จะฉีดพ่นเชื้อแห้งมาก ควรให้น้ำพอให้ดินมีความชื้นเสียก่อนหรือให้น้ำทันทีหลัง
    ฉีดพ่น เพื่อให้น้ำพาเชื้อซึมลงดิน
  • การปล่อยเชื้อราไตรโคเดอร์มา(ชนิดน้ำ)ไปกับระบบน้ำหยดอาจก่อให้เกิดปัญหาการอุดตันของหัวน้ำหยด ในกรณีที่มี
    น้ำเชื้อเหลือค้างในท่อ โดยสปอร์จะงอกเป็นเส้นใยไปทำให้อุดตัน จึงจำเป็นต้องปล่อยน้ำล้างสายและ
    หัวน้ำหยดหลังการใช้ทุกครั้ง
  • การฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มา(ชนิดน้ำ)ลงบนดินในแปลงปลูก ควรปฏิบัติควบคู่ไปกับการใช้เชื้อสดผสมปุ๋ยอินทรีย์หว่านคลุกเคล้าไปกับดินในช่วงของการเตรียมแปลงปลูกพืช เมื่อพืชอยู่ในระยะกำลังเจริญเติบโต สามารถ
    ใช้น้ำเชื้อฉีดพ่นลงดินและฉีดให้ทั่วทรงพุ่ม ใบ ดอก กิ่งก้าน ช่อดอก ผล ได้ทุก10วันหรือ3ครั้ง/เดือน
  • ควรใช้ร่วมกับสารจับใบสำหรับชีวภัณฑ์เท่านั้น สามารถฉีดพ่นร่วมกับฮิวมิคและสาหร่ายผงได้ดีมาก