13 วิธีป้องกันรักษาโรคราน้ำค้าง

รวมวิธีป้องกันกำจัด โรคราน้ำค้าง

วิธีป้องกัน โรคราน้ำค้าง

โรค ราน้ำค้าง เป็นโรคที่สร้างปัญหาและความเสียหายให้กับพืชเศรษฐกิจได้หลายชนิด อาทิเช่น พืชตระกูลแตง ได้แก่ แตงกวา เมลอน องุ่น แคนตาลูป แตงโม พืชผักตระกูลกะหล่ำ ได้แก่ กะหล่ำปลี พืชไร่อย่างข้าวโพด ถั่วเหลือง และไม้ดอก อาทิเช่น กุหลาบ

1.เลือกปลูกพันธุ์ที่ต้านทานโรคราน้ำค้างได้ดี

เลือกเมล็ดพันธุ์ต้านทานโรคราน้ำค้าง
ใช้เมล็ดพันธุ์ทนทานโรคราน้ำค้าง

สำหรับพืชที่มีความอ่อนแอต่อโรคราน้ำค้าง การเลือกสายพันธุ์ที่ต้านทานต่อโรคนี้ได้ดี ย่อมเป็นการเริ่มต้นที่มีความเสี่ยงต่ำ ต่อความเสียหายที่จะเกิดจากการโรคราน้ำค้าง

2.เว้นระยะห่างในการปลูกให้เหมาะสม

การป้องกันโรคราน้ำค้าง

-พืชขนาดเล็ก ควรเว้นระยะห่างประมาณ 3-5 เมตร

-พืชที่โตเป็นพุ่มขนาดใหญ่ ควรมีระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 5-6 เมตร

การเว้นระยะห่างอย่างเหมาะสม เป็นการลดความชื้นที่จะเกิดขึ้นในแปลงปลูก เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการติดเชื้อราก่อโรคคือความชื้นสูง อุณภูมิต่ำ การเว้นระยะที่เหมาะสมช่วยลดปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจริญของราน้ำค้างได้

3.นำเมล็ดพันธุ์ไปแช่ด้วยน้ำอุ่น

วิธีป้องกันโรคราน้ำค้าง


ที่มีอุณหภูมิประมาณ 50-60 องศาเซลเซียส ทิ้งไว้ประมาณ 20-30 นาที
เชื้อราก่อให้เกิดโรคราน้ำค้างสามารถติดไปกับเมล็ดพันธุ์ได้ การแช่เมล็ดพันธุ์ด้วยน้ำอุ่นช่วยทำลายสปอร์เชื้อราได้ในระดับหนึ่ง และเป็นการเริ่มต้นป้องกันปัญหาโรคราน้ำค้างที่ทำได้ง่าย

4.คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราก่อนปลูกทุกครั้ง

วิธีลดโรค ราน้ำค้าง


ด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

-คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า (Trichoderma sp.)
-คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยเชื้อแบคทีเรียบีเอส ( Bacillus subtilis : Bs)
-คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเคมีเมตาแลกซิล 35% DS โดยใช้อัตรา 7 กรัม/เมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม

ช่วยกำจัดเชื้้้อราก่อโรคที่อาจติดมากับเมล็ดพันธุ์ การคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารกำจัดเชื้อราช่วยเพิ่มอัตราการงอกของเมล็ด ช่วยให้ต้นกล้าเติบโตสมบูรณ์ปลอดโรคที่อาจเกิดจากเชื้อราที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์

5.การดูแลรักษาพืชช่วงการเจริญเติบโต ควรปรับปรุงดิน ค่าความเป็นกรด-ด่าง และความสมดุลของแร่ธาตุในดิน โดยการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปูนขาว

โรคราน้ำค้าง

6.การฉีดพ่นแคลเซียมทุกๆ 7-10 วัน ในข้าวโพดช่วยลดโรคราน้ำค้าง

การป้องกันโรคราน้ำค้าง

7.ในพืชตระกูลแตง เช่น เมล่อน แตงโม ควรฉีดพ่นโบรอน ก่อนที่พืชจะออกดอกจำนวน 1-2 ครั้ง เพื่อสร้างความสมบูรณ์

ลดการระบาด ราน้ำค้าง

8.เพิ่มแมกนีเซียมในดิน โดยใช้ปูนโดโลไมด์ในขั้นตอนการเตรียมดิน

สารป้องกันกำจัดราน้ำค้าง

9.เปลี่ยนวิธีรดน้ำจากสปริงเกอร์เป็นแบบรดน้ำโดยใช้กระบวยหรือถังรดน้ำทั่วไป เพื่อลดการแพร่กระจายของราน้ำค้าง

การจัดการโรคราน้ำค้าง


10.นำส่วนของพืชทีเป็นโรคราน้ำค้าง ไปทำลายทิ้งโดยการเผาเท่านั้น

วิธีควบคุมการระบาดโรค ราน้ำค้าง

11.หากพบอาการ โรคราน้ำค้าง บนส่วนต่างๆของพืชในช่วงเริ่มต้น แนะนำ้ให้ฉีดด้วยสารชีวภัณฑ์

ไตรโคเดอร์มา หรือ เชื้อราบาซิลลัส หรือจะฉีดพ่นด้วยสารเคมี คอปเปอร์อออกซีคลอไรด์ แมนโคเซบ เมทาแลกซิล หรือเมทาแลกซิล+แมนโคเซบ เป็นต้น สำหรับการฉีดพ่นด้วยสารเคมี ควรฉีดสลับกลุ่มสาร อย่างน้อย 2-3 ชนิด เนื่องจากเป็นการป้องกันเชื้อราต้านทานต่อสารเคมี

สารป้องกัน ราน้ำค้าง

12.สารเคมีกำจัด ราน้ำค้าง ที่ได้ผลมากที่สุดจากงานวิจัย

คือ ไซมอกซานิล (cymoxanil) 8% ผสมกับ แมนโคเซบ (mancozeb) 6

วิธีควบคุมการระบาด โรคราน้ำค้าง

13.การฉีดพ่นด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา

เป็นประจำจะช่วยลดการระบาดของโรคราน้ำค้างได้ โดยฉีดพ่นไตรโคเดอร์มา ทุก 7-10 วันครั้ง

เชื้อราไตรโคเดอร์มา ป้องกันโรคราน้ำค้าง